สยามถอดชุดบอลดันแฟชั่นผ้าไทย

แนวรุกสุดหล่อของทีมปราสาทสายฟ้า บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด “สยาม แยปป์” เตรียมปรับลุคใหม่ ทิ้งชุดแข่งฟุตบอลมาใส่ชุดผ้าไหม ผลักดันแฟชั่นผ้าไทยสู่สายตาชาวโลก พร้อมเหล่านักแสดง,เซเลบริตี้ และอินฟลูเอนเซอร์เบอร์ท็อปต้นๆ ของเมืองไทย อาร์ต-พศุตม์ บานแย้ม, ป้าตือ สมบัษรและ ปิงปอง-ธงชัย ทองกันทม ที่มาร่วมสร้างสีสันประชันความสวยงามอลังการ ด้วยชุดแต่งกายผ้าไหมท้องถิ่นและลายผ้าพระราชทานจากสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ภายใต้แนวคิดโครงการ ผ้าไทยใส่ให้สนุก”

สยาม แยปป์ แนวรุกสุดหล่อ นักเตะลูกครึ่งไทย-อังกฤษ วัย 19 ปี จากสโมสรบุรีรัมย์ ยูไนเต็ดยอดทีมแชมป์ไทยลีก 8 สมัย ร่วมงาน Colors of Buriram บิ๊กโปรเจ็คต์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งปี เปิดอาณาจักรผลิตภัณฑ์ผ้าไทย และงานหัตถกรรมภูมิปัญญาชุมชน จัดแสดง-จำหน่าย ของดีของขึ้นชื่อมากมาย ระหว่างวันที่ 19-21 มีนาคม 2567 เวลา 10.00-18.00 น. บริเวณหน้าที่ว่าการอำเภอนาโพธิ์ จ.บุรีรัมย์ เปิดให้ชมฟรี

“สยาม แยปป์” จะเป็นตัวแทนนักกีฬา ตอกย้ำภาพความเป็นเมืองแห่งกีฬาของจังหวัดบุรีรัมย์ ที่พรั่งพร้อมไปด้วยศิลปวัฒนธรรมเก่าแก่ รวมถึงช่างฝีมือหัตถศิลป์ที่ขึ้นชื่อแขนงต่างๆ โดยเป็นครั้งแรกที่จะปรับลุคจากซูเปอร์สตาร์นักเตะหน้าหล่อ มาแต่งกายด้วยผ้าไหมลายผ้าพระราชทานผสมผสานกับผ้าไทยลวดลายเอกลักษณ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นบุรีรัมย์ ร่วมผลักดันแฟชั่นผ้าไหมไทยสู่สายตาชาวโลก

ทั้งนี้ ด้วยการพระราชทานแนวพระดำริ “ผ้าไทยใส่ให้สนุก” และลายผ้าพระราชทานจากสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ทำให้เกิดการจุดพลังการขับเคลื่อนงานหัตถกรรมในทุกมิติ ทั้งรูปแบบ ลวดลาย สี ทำให้ผ้าไทยมีความทันสมัย คนนิยมใส่ผ้าไทยมากขึ้น จนสามารถสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้กับประชาชนอย่างครบวงจร

คำพูดจาก สล็อตวอเลท

งาน “COLORS OF BURIRAM” ขอเชิญชวนประชาชน ตลอดจนนักท่องเที่ยว ไทย-เทศ ได้มาชื่นชมความงดงามผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่ทรงคุณค่าสืบต่อกันมาอย่างยาวนาน กับผลิตภัณฑ์และงานหัตถกรรมผ้า 2,000 กว่าชิ้น โดยเฉพาะผ้าไหมของชาวบุรีรัมย์ มีการพัฒนาต่อยอดให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความทันสมัย ใส่ได้ทุกเพศทุกวัย จากการถักทอด้วยความประณีต การออกแบบและตัดเย็บที่สวยงาม เพื่อสืบสานพระราชปณิธาน ผ้าไทยใส่ให้สนุกให้คงอยู่ คู่กับชุมชนและชาวบุรีรัมย์ตลอดไป นำมาจัดแสดงครบทั้ง 23 อำเภออย่างยิ่งใหญ่

สำรองการเข้าชมได้ที่ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่ สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดบุรีรัมย์ กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย โทรศัพท์ 0 4466 6512